วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ยิมนาสติก คือ อะไร?


ยิมนาสติก คือ กีฬาประเภทหนึ่งที่ช่วยพัฒนาความแข็งแรง ความอ่อนตัว ความสมดุล และ การควบคุมร่างกาย

การบาดเจ็บหมายถึงอะไร ???

การบาดเจ็บ หมายถึง ความเสียหายหรืออันตรายต่อหน้าที่หรือโครงสร้างของร่างกาย อันมีสาเหตุจากแรงหรือปัจจัยภายนอกทั้งทางกายภาพหรือเคมี และทั้งโดยเจตนาหรือไม่ได้เจตนา โดยการบาดเจ็บในยิมนาสติกนั้นพบมากได้ที่ ข้อศอก ข้อเท้า หลัง หัวเข่า มือ และข้อมือ
การบาดเจ็บพบได้ดังต่อไปนี้

1. จากตัวผู้เล่นเอง

1.1 สาเหตุจากสภาพของร่างกาย
       -เกิดจากความผิดพลาดจากการเล่นของตนเอง

1.2 สาเหตุจากสภาพของจิตใจ
       -เกิดจากประสบการณ์ในอดีตที่ไม่น่าจดจำ เช่น เคยเล่นยิมนาสติกแล้วพลาด
1.3 การขาดความรู้ความเข้าใจในกีฬายิมนาสติก, ขาดทักษะความสามารถของกีฬายิมนาสติก

2. จากประเภทและลักษณะของกีฬา

2.1 ประเภทกีฬาที่ต้องปะทะกัน (CONTACT SPORT)

2.2 ประเภทกีฬาที่ไม่ต้องปะทะกัน (NON-CONTACT SPORT)

3. สาเหตุการบาดเจ็บจากปัจจัยอื่น ๆ

การฝึกซ้อมไม่เหมาะสม

การปฐมพยาบาล  การบาดเจ็บจากการเล่น
การปฐมพยาบาลกล้ามเนื้อฉีก  ข้อต่อเคล็ด  ควรปฏิบัติดังนี้
1.  ประคบด้วยความเย็น  เพื่อห้ามเลือด  ใช้ผ้ารองน้ำแข็งแล้วน้ำไปประคบประมาณ   20  -   30  นาทีหรือเมื่อรู้สึกปวดก็ยกออกประมาณ  30  วินาที  เพื่อให้เกิดความอบอุ่นบริเวณที่บาดเจ็บ  แล้วค่อยประคบใหม่สลับกันไป
2.  พันด้วยผ้า  เพื่อลดการบวมและกระจายการห้อเลือด
3.  ตอนกลางคืนให้ยกบริเวณที่บาดเจ็บให้สูงกว่าปกติ เช่นที่ข้อเท้าก็ให้วางข้อเท้า บน หมอน  เพื่อให้เลือดดำไหลคืนสู่หัวใจได้ดีขึ้น  ( ร่างกายนำไปฟอกใหม่  )
4.  ไม่ควรให้บริเวณนั้นรับน้ำหนัก  เช่นที่ข้อเท้าก็ไม่ควรเดินมาก
5.  เมื่อครบ  24  ชั่วโมงแล้วค่อยใช้น้ำมันนวดบริเวณนั้นเบา ๆ  เพื่อให้เลือดมาหล่อเลี้ยงส่วนนั้น
การปฐมพยาบาลแผลเลือดออก
1.  ห้ามเลือดโดยใช้สำลี  ผ้า  กดที่บาดแผล  ยกส่วนที่เป็นแผลให้สูงกว่าระดับหัวใจ
2.  ทำความสะอาดบาดแผลโดยใช้น้ำที่สะอาด
3.  เช็ดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล  บริเวณรอบ ๆ แผล
4. ใส่ยาสำหรับแผลสด  เช่นยาแดง
5.  ถ้าแผลใหญ่ให้นำส่งโรงพยาบาล
การให้ความช่วยเหลือในขณะเล่น  ด้วยมือเปล่า

1.  ผู้ให้ความช่วยเหลือต้องมีทักษะและความชำนาญพิเศษ
2.  ต้องเตรียมตัวให้พร้อมตลอดเวลา
3.  จะต้องรู้ว่าผู้เล่น จะทำท่าอะไรและจะช่วยเหลือวิธีไหน
4.  รู้ตำแหน่งการยืน  การจับ  การยก
5.  รู้จังหวะในการทำในแต่ละท่า
6.  รู้ขีดความสามารถของเด็กแต่ละคนไม่ว่าการทำและการตัดสินใจ
7.  มีสติและสมาธิในการช่วยเหลือ


ผู้จัดทำ
1.นายตุลยวัฒน์ ตันตริก ม.4/6 เลขที่ 14
2.นายทันทัพ กิรติเสวี ม.4/6 เลขที่ 15
3.นายปัญญวัฒน์ ไพบูลย์กิจกุล ม.4/6 เลขที่ 18
4.นายวรทัต ลีลาวรเศรษฐ์ ม.4/6 เลขที่ 21
5.นายวัชรวิชญ์ ธีราวัฒวาณิชย์ ม.4/6 เลขที่ 22
6.นายสิทธิชัย ทองน้อย ม.4/6 เลขที่ 23
อ้างอิง
- http://www.thairunning.com/cause_injury.htm
https://kennancharissamusic.wordpress.com/2011/05/03/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A/
- http://tukaping.igetweb.com/index.php?mo=3&art=42022498

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น